ข้อมูลโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ Info Chulabhorn Hospital

ข้อมูลโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ Info Chulabhorn Hospital

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นนักวิจัยที่ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ ทรงมีผลงานค้นคว้าวิจัยที่เป็นพื้นฐานสำคัญนำไปสู่การค้นพบกลไกการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะอุทิศพระองค์เพื่อทรงช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากของชาวไทยที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง ทรงมีพระดำริก่อตั้ง “ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง” ขึ้น โดยเสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในปีพุทธศักราช 2547 และเมื่ออาคารโรงพยาบาลก่อสร้างแล้วเสร็จ พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” และเสด็จ ฯ ไปทรงเปิดดำเนินการโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29  ตุลาคม พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เชื่อมโยงการรักษาทางคลินิกและการวิจัยในเชิงลึก มีภารกิจในการช่วยเหลือบำบัดดูแลรักษาและบรรเทาความทุกข์ทั้งทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคมของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ควบคู่กับการส่งเสริมการป้องกันมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต่อมาในปีพุทธศักราช 2558 ทรงมีพระดำริให้ขยายขอบข่ายการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ให้ครอบคลุมทุกโรค ด้วยพระกรุณาธิคุณโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง ส่วนต่อขยายเพิ่มเติมการให้บริการทางแพทย์จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกโรคให้กับประชาชน

ปัจจุบัน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นส่วนงานภายใต้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงให้บริการวิชาการ ทำการวิจัย ฝึกอบรม ตลอดจนสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยร่วมกับส่วนงานหรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มุ่งพัฒนายกระดับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้บริการประชาชนทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค โดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นส่วนงานหลักในการให้บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิแก่ประชาชน โดยเปิดให้บริการทางแพทย์ทั้งหมด ๔ อาคาร ประกอบด้วย อาคารอัครราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 100 เตียง, อาคารศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ, อาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ, อาคารกรมพระศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง

 


อาคารอัครราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 100 เตียง 

มุ่งให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง ภายใต้การดูแลรักษาร่วมกันโดยแพทย์เฉพาะทางสหสาขาร่วมกันวางแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยมะเร็งแต่ละรายให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งก่อนการรักษา ระหว่างการรักษาและหลังการรักษา การดูแลแบบประคับประคองด้วยการแพทย์แบบองค์รวมที่มุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว สนองพระปณิธานในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้สามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม


อาคารศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

จากพระวิสัยทัศน์ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสร้างภาพในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ซึ่งเป็นวิทยาการแพทย์ขั้นสูงมาใช้ เพื่อให้การตรวจรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงก่อตั้งและเสด็จเปิดศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย โดยทรงวางแนวทางการดำเนินงานและทรงติดตามการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท โรคหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุดแก่คนไทย โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงเป็นสถานที่วิจัยทางด้านวิชาการเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

Cycrotron


ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยอุตสาหะในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และเทคโนโลยีทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ มาส่งเสริมสุขภาวะ ยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศไทยยังคุณประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงได้ดำเนินการจัดสร้าง “อาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ” ขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชันษา 5 รอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ด้วยน้อมสำนึกในพระกรุณาคุณและสนองตามแนวพระดำริในการขยายขอบข่ายการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในระยะแรกเริ่ม โดยเป็นอาคารสนับสนุนบริการทางการแพทย์ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่วนต่อขยายขนาด 400 เตียง


อาคารกรมพระศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง 

ด้วยพระกรุณาธิคุณและพระเมตตาที่ทรงมีพระประสงค์ที่จะช่วยเหลือดูแลรักษาผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกโรค โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง จึงถือกำเนิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขนาดใหญ่ มุ่งบูรณาการศูนย์การรักษาเฉพาะทางเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างครบวงจร เป็นหมุดหมายที่พึ่งทางสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพได้ครอบคลุมทุกโรค ด้วยวิทยาการแพทย์ขั้นสูงและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งเป็นสถานที่ฝึกเรียนรู้ทางคลินิกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาวิชา ตั้งอยู่ ณ บริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80  พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ใช้สอยรวม 265,263 ตารางเมตร ประกอบด้วย อาคารกรมพระศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง สูง 12 ชั้น อาคารคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน สูง 12 ชั้น ใช้สำหรับเป็นอาคารจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และอาคารหอพักราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สูง 18 ชั้น ภายในพื้นที่โครงการ ฯ ยังมีสถานที่ประดิษฐานของ หอพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์               พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร     พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นการเทิดพระนามและแสดงความระลึกถึงพระเกียรติคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้     อีกทั้ง เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ สร้างขวัญกำลังใจให้แก่นักศึกษา บุคลากรของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้รับบริการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และประชาชนทั่วไปสืบไป

 

“…I want Chulabhorn Hospital to be a resource for the middle-class and the underprivileged people to receive excellent services as equal as the well-off. The expansion of the hospital not only supports cancer care, but also covers a spectrum of illnesses. Another important reason is I would like the expansion of this hospital to commemorate the 90th Birthday Anniversary of my father, HM King BhumibolAdulyadej in 2016. I hope everyone will make the contributions and make my dream come true...”

- Royal Speech Given by Professor Dr. HRH Princess Chulabhorn-

                                 On 8 July 2015 at Chulabhorn Hospital

 

Chulabhorn Hospital

From a Cancer Hospital to a General Hospital with full range of Medical Services

 

Chulabhorn Oncology Medical Centre

Under the gracious guidance of Her Royal Highness, the operation of Chulabhorn Hospital was continuously improved and advanced to the point that it became a comprehensive cancer hospital and extend to other diseases in order to further provide inclusive healthcare for Thai people. The Chulabhorn Hospital, a current 100-bed comprehensive cancer hospital, was made a new name as “Chulabhorn Oncology Medical Centre” by Her Royal Highness on August 19, 2017.

 

Chulabhorn Chalermprakiet Medical Centre

A general hospital, an expanded the operation of Chulabhorn Hospital,was established in 2017to commemorate the 60th Birthday Anniversary of Professor Dr. HRH Princess ChulabhornMahidol and was inaugurated by Her Royal Highness on December 1, 2017. At ChulabhornChalermprakiet Medical Centre, 50 beds general hospital, has three new specialized centresincludesCardiology, Orthopedic, and Breast Centre. With modern equipment and state-of-the-art diagnostic, and intensive care facilities in a one-stop medical centre. 

 

Bhattara Maha Raja Memorial Medical Centre

A comprehensive medical centre which provides a full range of medical services with 400-bed capacity. Professor Dr. HRH Princess Chulabhorn Mahidol wishes to establish this medical centre in remembrance of her beloved father the Late King Bhumibol Adulyadej. This centre is going to be in operation within 4 years. With modern equipments and state-of-the-art facilities, offer the best medical care to people from all walks of life and provide an excellent setting for clinical teaching and research.