ศูนย์การรักษา ศูนย์การรักษา

รังสีรักษามะเร็งวิทยา Radiation Oncology Department

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่เริ่มนำการฉายรังสี 4 มิติ ซึ่งเป็นการรักษาด้านการฉายรังสีที่ทันสมัยที่สุด โดยมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการฉายรังสีให้ตรงตำแหน่งเป้าหมายอย่างแม่นยำ สามารถเพิ่มปริมาณรังสีให้สูงเพื่อการควบคุมโรคที่ดีขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเพิ่มโอกาสการหายให้สูงขึ้น รวมทั้งยังลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉายรังสีได้ รังสีมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีที่ครบครันและทันสมัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย
 

บริการการรักษาที่ครบวงจร

  • ตรวจดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาโดยการฉายรังสี
  • บริการฉายรังสีทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 
  • บริการการฉายรังสีระยะใกล้ เช่น การใส่แร่ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  • บริการให้ความรู้และคำแนะนำ รวมถึงการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ ในการดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาโดยการฉายรังสี ทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลังการฉายรังสี โดยดูแลทั้งด้านร่างกายจิตใจ และอารมณ์

การรักษาด้วยรังสี แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. รังสีรักษาระยะไกล (external beam radiation therapy) หรือที่เรียกว่าการฉายรังสีจากภายนอก โดยลำรังสีพลังงานสูงจากเครื่องเร่งอนุภาคมุ่งเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย โดยมุ่งให้ปริมาณรังสีสูงสุดที่เซลล์มะเร็ง และเนื้อเยื่อปกติได้รับรังสีน้อยที่สุด

2. รังสีระยะใกล้ (brachytherapy) หรือที่เรียกว่าการใส่แร่ คือ การนำเม็ดแร่รังสีเข้าไปภายในร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งต้นกำเนิดรังสีจะอยู่ใกล้กับบริเวณที่จะทำการรักษาโดยตรง เช่น มะเร็งปากมดลูก เมื่อได้ปริมาณรังสีตามแผนการรักษา  จะนำเม็ดแร่และเครื่องมือออก  เม็ดแร่ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แร่อิริเดียม - 192 การรักษาโดยเทคนิคนี้  ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก  ไม่ต้องพักค้างในโรงพยาบาล 

 

เครื่องมือทางรังสีของแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์นั้น ประกอบไปด้วย

1. เครื่องจำลองการฉายรังสี มี 2 แบบ
   1.1 เครื่องจำลองการฉายรังสี (conventional simulation)
   1.2 เครื่องจำลองการฉายรังสีโดยคอมพิวเตอร์ (computed tomography simulation)
2. เครื่องฉายรังสี หรือเครื่องเร่งอนุภาค 2เครื่อง 
   2.1 Trilogy
   2.2 TrueBeam
3. เครื่องใส่แร่
 

เครื่องฉายรังสี รุ่น Ethos 
แห่งแรกในอาเซียน แม่นยำรักษาตรงจุด

 

#

  • ลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียง ด้วยเทคโนโลยีวัตถุกำบังรังสี (Multileaf Collimator) แบบ 2 ชั้น (Dual Layer) 
  • ตรวจสอบตำแหน่งก่อนการฉายรังสี ด้วยเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ แบบ Iterative cone beam CT ให้ภาพละเอียด ชัดเจน ช่วยให้การรักษาแม่นยำ ลดความคลาดเคลื่อนในการฉายรังสี 
  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ช่วยแพทย์ปรับแผนการฉายรังสีให้เข้ากับก้อนมะเร็งที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการรักษา
  • ลดระยะเวลาในการฉายรังสี ด้วยหัวฉายรังสีที่หมุนได้เร็วขึ้น
  • เพิ่มความสะดวกในการขึ้น-ลง ด้วยเตียงที่ปรับระดับตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
 
การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
 

#

 
สามารถนำประวัติเข้ามารับคำปรึกษาที่ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ติดต่อสอบถามได้ที่
โทร 0 2576 6019
 
หรือส่งประวัติปรึกษาและนัดหมายล่วงหน้าผ่านเมนู “ปรึกษาโรคมะเร็ง” เลือกบริการปรึกษา "รังสีรักษา" ทาง LINE
 

เพิ่มเพื่อน

 

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา

รังสีรักษาคืออะไร

          รังสีรักษา เป็นการรักษาโรคโดยใช้รังสี โดยมีหลักสำคัญคือการใช้ปริมาณรังสีให้มากพอที่จะทำลายเนื้องอกได้หมด ในขณะเดียวกันจะมีการคำนึงถึงผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงให้ปลอดภัยจากผลข้างเคียง ดังนั้นในการใช้รังสีรักษาเพื่อรักษามะเร็งนั้น จึงต้องมีการวางแผน การรักษาที่เหมาะสมร่วมกับการให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ และมีการติดตามการตรวจรักษาผู้ป่วยเป็นระยะ

 

          การใช้รังสีรักษาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิธีที่มีมานาน แต่ยังขาดความเข้าใจสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมักจะคิดว่าเป็นการใช้เพื่อการรักษาโรคมะเร็งได้เพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงแล้ว การใช้รังสีสามารถนำมารักษาโรคทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง

          รังสีจะทำลายเซลล์ที่เจริญเติบโตเร็ว ดังนั้นเซลล์มะเร็งที่เติบโตเร็วจึงถูกทำลายได้ง่าย ในขณะที่เซลล์อวัยวะปกติของร่างกายจะถูกทำลายต่อรังสีน้อยกว่า เซลล์ปกติของมนุษย์มีความสามารถในการซ่อมแซมตนเองได้ดีกว่าเซลล์มะเร็ง จึงสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ดีหลังจากได้รับรังสี นอกจากนี้แพทย์ทางรังสีรักษามีเครื่องมือและวิธีการ เพื่อทำให้ลำรังสีเข้าถึงบริเวณที่เป็นก้อนมะเร็งได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติน้อยที่สุด

 

การใช้รังสีทางการแพทย์มีความเสี่ยงหรือไม่

          ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ใช้ ดังนั้นการใช้รังสีในปริมาณที่พอเหมาะโดยอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ของรังสีแพทย์จะช่วยให้ใช้ประโยชน์จากรังสีได้สูงสุดและลดความเสี่ยงลงได้

 

การฉายรังสีเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือผู้อยู่ใกล้ชิดหรือไม่

  • การฉายรังสีไม่เจ็บ ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนการเอกซเรย์ธรรมดา
  • เมื่อออกจากห้งอฉายรังสีแล้วจะไม่มีรังสีเหลืออยู่ในร่างกาย ผู้ป่วยสามารถอยู่ใกล้ชิดผู้อื่นได้ตามปกติ การฉายรังสีโดยทั่วไปต้องมีการแบ่งฉายหลายครั้ง เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะปกติ

 

การฉายรังสีใช้เวลานานเท่าไหร่

          การฉายรังสีโดยทั่วไป ฉาย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ วันละ 1 ครั้ง ใช้เวลารวมทั้งหมดประมาณ 4-6 สัปดาห์ แตกต่างกันไปบ้างในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นรายละอียดควรสอบถามจากแพทย์ที่ทำการรักษา

          การฉายรังสีในแต่ละวัน ใช้ระยะเวลาในห้องฉายรังสีประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ฉายรังสีแล้วกลับบ้านได้เลยและผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ

 

การฉายรังสีทำให้โรคกระจายทั่วร่างกายหรือไม่

          การฉายรังสีเพื่อทำล่ายมะเร็งในขอบเขตที่กำหนดไว้ การฉายรังสีเป็นการป้องกันการกระจายของโรค ควบคุมโรคและสามารถทำลายเนื้องอก ช่วยทุเลาอาการเจ็บปวด การฉายรังสีไม่ทำให้มะเร็งกระจาย

 

การฉายรังสีรักษาโรคให้หายขาดได้จริงหรือไม่

         ผู้ป่วยที่เป็นระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ มีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วจำนวนมากที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ ในรายที่ระยะของโรคมากแล้ว แม้ว่ารังสีไม่อาจรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่อาจทุเลาอาการหรือความเจ็บปวดได้

 

การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการฉายรังสีมีอะไรบ้าง

          รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไม่เป็นความจริงที่ว่าการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะทำให้เนื้องอกเจริญเติบโตเร็ว ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารที่ประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมรับการรักษา  ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ  ออกกำลังกายบ้างตามความเหมาะสม งดสิ่งเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ฯลฯ

 

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีมีอะไรบ้าง

ผลต่อผิวหนัง ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีและเทคนิคที่ใช้ สีผิวที่เข้มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นชั่วคราวและจะค่อย ๆ หายไปหลังการฉายรังสีครบ การป้องกันหรือลดผลข้างเคียงต่อผิวหนังทำได้โดยหลีกเลี่ยงการขัดถูหรือระคายเคืองบริเวณผิวหนังส่วนที่มีการฉายรังสี

ผลข้างเคียงต่ออวัยวะอื่น จะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่มีการฉายรังสีและขึ้นกับบริเวณที่ฉายและปริมาณรังสี ควรปรึกษาแพทย์ทางรังสีรักษาและพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย

 


 

 

คู่มือการดูแลตนเองภายหลังการฉายรังสีบริเวณช่องปากและลำคอครบตามแผนการรักษา

ผลข้างเคียงของรังสีรักษาที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน  ส่วนใหญ่จะหมดไปภายใน 4-6 สัปดาห์  หลังฉายรังสีครบเพราะเซลล์ของอวัยวะต่างๆ มีการซ่อมแซมตัวเองและกลับทำงานได้ตามปกติ  สำหรับผลในระยะยาวจะตรวจพบได้ภายหลัง อาจใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี  หลังสิ้นสุดการรักษาแล้ว  โดยจะเกิดเฉพาะอวัยวะหรือบริเวณที่ได้รับรังสี  ดังนั้น  ในระยะหลังการฉายรังสีจึงมุ่งเน้นเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ร่างกายฟื้นคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว  และลดอาการข้างเคียงในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งการสังเกตอาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์

ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวทั่วไป 

       1.  การับประทานอาหารและน้ำ ควรรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงและดื่มน้ำมากๆ  อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน

       2. ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ  เพื่อให้ร่างกายฟื้นคืนสภาพโดยเร็ว

       3. การดูแลผิวหนัง  ผิวหนังบริเวณที่เคยได้รับการฉายรังสีจะยังอ่อนแอหรือหลุดลอกได้  ดังนั้นให้ดูแลผิวหนังเช่นเดียวกับเมื่อเวลาฉายรังสีต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นควรใช้ครีมหรือโลชั่นนวดในบริเวณที่ฉายรังสีเพื่อเพิ่มการไหลเวียนและป้องกันการยืดติดของเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นๆ ควรทำเป็นประจำและต่อเนื่องตลอดไป

       4. ควรออกกำลังกายบ้างแต่พอควร  เช่น  เดินเล่น  ทำงานบ้านที่ไม่ต้องออกแรงมากนัก  เป็นต้

       5. ควรอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรอยู่ในถานที่แออัด

       6. ควรมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อติดตามอาการและประเมินผลการรักษา

 

การออกกำลังกาย

          สำหรับผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณช่องปากและลำคอเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีครบตามแผนการรักษาแล้ว  ควรแนะนำการบริหารร่างกาย  โดยให้ผู้ป่วยฝึกบริหารเมื่อกลับบ้าน  เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน  ได้แก่  ปากแคบ  ขาดกรรมไกรยึด  และป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดมายึดบริหารลำคอ

          การบริหารปากและขากรรมไกร

          อ้าปากกว้างๆ  และหุบปาก  ประมาณ 20 ครั้ง หรือ อมท่อพลาสติกหรือจุกไม้ก๊อกที่สะอาดครั้งละ 1 นาที  อย่างน้อย 5 ครั้ง ท่อพลาสติกหรือจุกไม้ก๊อก ควรมีขนาดใหญ่ ให้อ้าปากกว้าง ๆ ได้เต็มที่  และควรเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

 

ภายหลังการฉายรังสีบริเวณช่องปากและลำคอครบตามแผนการรักษา

        การบริหารบริเวณลำคอ ให้ทำเป็นประจำทุกวัน  วันละประมาณ 10-15 นาที  

        1. หันหน้าไปทางซ้ายจนสุด และค่อย ๆ หันไปทางขวาจนสุดทำซ้ำประมาณ 20 ครั้ง

        2. ก้มศรีษะจนคางชิดอก แล้วค่อย ๆ เงยศรีษะขึ้นจนสุดทำซ้ำๆ ประมาณ 20  ครั้ง

        3. เอียงศรีษะให้ชิดไหล่ จนรู้สึกว่าคอตึง ทำสลับข้างกันประมาณ 20 ครั้ง

        การนวดใบหน้าและลำคอ

        วิธีนี้ให้เริ่มภายหลังการฉายรังสีครบไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน หรือสังเกตได้จากการที่ผิวหนังที่แห้งคล้ำลอกหลุดหมดแล้ว

          ใช้มือทั้งสองวางแนบลงแก้ม ลงน้ำหนักเล็กน้อยแล้วเคลื่อนมือไปทางมุมปากโค้งขึ้นไปยังหูแล้วกลับมายังตำแหน่งเดิมยิ้มให้เห็นฟันในขณะเคลื่อนมือขึ้นและหยุดยิ้มเมื่อเคลื่อนมือลง ในการนวดนี้ควรให้มีการเคลื่อนของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไปพร้อม ๆ กับผิวหนังด้วยและให้นวดจนรู้สึกว่าหน้าอุ่น  นอกากนี้ควรทำการนวดในบริเวณใต้คางและลำคออีกด้วยการใช้โลชั่นหรือครีมทาที่ผิดหนังจะทำให้นวดได้สะดวกขึ้น และยังเป็นการบำรุงผิดอีกด้วย

การมาตรวจตามแพทย์นัด

ท่านควรมาตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อ

       1. ประเมินผลการรักษาด้วยรังสี และสามารถบอกได้ว่าการรักษาด้วยรังสีสำหรับผ้ป่วยรายนั้นๆ  ได้ผลหรือไม่

       2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลแทรกซ้อนจากรังสีรักษา แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้

 

อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์

  • มีไข้สูง หนาวสั่น

  • เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก

  • มีก้อนขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่เคยฉายไปแล้ว หรือตำแหน่งอื่นๆ

  • มีแผลแตกเหมือนน้ำเหลืองออกใบบริเวณที่ฉายรังสี

  • อาการปวดที่ไม่ทุเลา โดยเฉพาะปวดเฉพาะที่แห่งเดียว

  • ถ้ามีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

 

Contact

Phone:

 0 2576 6021 , 0 2576 6022  

Fax:

 

E-mail:

 

Service Hours

ในเวลาทำการ:

 

วันจันทร์ 08.00 - 16.00 น.
วันอังคาร 08.00 - 16.00 น.
วันพุธ 08.00 - 16.00 น.
วันพฤหัสบดี 08.00 - 16.00 น.
วันศุกร์ 08.00 - 16.00 น.

นอกเวลาราชการ : ประจำเดือน ตุลาคม 2565

 

วันจันทร์

 16.00 - 20.00 น.

สัปดาห์ที่ 1,2,3,5

วันอังคาร  16.00 - 20.00 น.
วันพุธ  16.00 - 20.00 น.
วันพฤหัสบดี

16.00 - 20.00 น.

สัปดาห์ที่ 1,3,4

วันศุกร์ 16.00 - 20.00 น.
วันเสาร์          -       
วันอาทิตย์   -

 

Location

ศูนย์รังสีรักษามะเร็งวิทยา

ชั้น B1  ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
เลขที่ 906 ถนนกำแพงเพชร6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

Contact

Phone:

 

 

 0 2576 6021 , 0 2576 6022  

Fax:

 

 

E-mail:

 

 

Service Hours

วันจันทร์-วันศุกร์:

 

 

กรณีพบแพทย์ 08.00 - 16.00 น.

วันจันทร์-วันศุกร์:

 

กรณีฉายแสง 08.00 - 20.00 น.

วันเสาร์:

 

08.00 - 12.00 น.

Location

ศูนย์รังสีรักษามะเร็งวิทยา

 

 
ชั้น B1  ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
เลขที่ 906 ถนนกำแพงเพชร6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210