ศูนย์การรักษา ศูนย์การรักษา
หัวใจและหลอดเลือด Cardiology Centre
บริการทางการแพทย์
ให้บริการดูแลด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ เพื่อรองรับการดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งจัดเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตประชาชนไทยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยให้บริการผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสุขภาพหัวใจ ตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาด้วยเทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด การผ่าตัด ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และการส่งเสริมการดูแลเชิงป้องกันด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมดูแลทุกสถานการณ์หัวใจตลอด 24 ชั่วโมง
การป้องกันและตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
ด้วยนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่ดีขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ความสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคก็มีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถลดความเสี่ยงและอันตรายต่อชีวิตได้ดีกว่าที่จะให้การรักษาผู้ป่วยหลังจากที่มีอาการแล้ว
เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยด้านหัวใจ
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้บริการตรวจสภาวะของหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อการป้องกันอย่างทันท่วงที โดยให้บริการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของโรคเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านั้นไม่ให้ดำเนินไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ตรวจวัดความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย ภาวะอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน ระดับน้ำตาล และน้ำตาลสะสมในเลือด ระดับไขมันในเลือด เป็นต้น พร้อมด้วยเทคโนโลยีการตรวจสภาวะหัวใจโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สัมผัสภายนอกร่างกายเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยหัวใจและหลอดเลือด ที่สามารถให้ข้อมูลครบถ้วนและแม่นยำในการช่วยตรวจหาร่องรอยของโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะแรกเริ่มก่อนมีอาการ การวินิจฉัยโรค และการเตรียมการรักษา โดยสามารถให้บริการด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย ได้แก่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว โดยสามารถให้การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในคนไข้ที่มีอาการแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังสามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคของโครงสร้างหัวใจเบื้องต้น เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว หัวใจโต เป็นต้น และยังรวมไปถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่นหรือเป็นลมหมดสติ
การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test)
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ตรวจหาสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและความผิดปกติของหัวใจในขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนลู่วิ่งหรือการปั่นจักรยาน โดยใช้ประกอบกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายเพื่อช่วยในการวินิฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวในขาดเลือดจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รวมถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่ออกกำลังกาย การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ทำได้ง่ายและความแม่นยำในการวินิจฉัยค่อนข้างดีและมีความปลอดภัยสูง การตรวจนี้ผู้ป่วยควรจะต้องงดน้ำและอาหาร รวมไปถึงบุหรี่และกาแฟก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)
ด้วยเทคโนโลยีการจำลองภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจากเครื่องตรวจอัลตราซาวด์รุ่นล่าสุด ซึ่งมาพร้อมกับหัวตรวจความละเอียดสูงที่สามารถจำลองภาพ 3 มิติ ทำให้ได้ภาพการทำงานของหัวใจที่ละเอียดและเสมือนจริงประกอบเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ ประโยชน์ของการตรวจนี้สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น เพื่อช่วยให้ทีมแพทย์ให้การวินิฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การตรวจหัวใจด้วยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงควบคู่กับการออกกำลังกาย (Exercise stress echocardiogram)
เป็นการตรวจค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือในคนไข้ที่มีอาการเหนื่อยง่ายแบบไม่ทราบสาเหตุและสงสัยความผิดปกติจากโรคหัวใจ ผู้ทำการตรวจจะต้องตรวจโดยการเก็บภาพคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนออกกำลังกายและหลังจากออกกำลังกายเสร็จทันที ซึ่งการออกกำลังกายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบเดินบนลู่วิ่งสายพาน (treadmill stress test) หรือแบบปั่นจักรยาน (bicycle stress test) การตรวจนี้จะให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำเพิ่มขึ้นกว่าการตรวจด้วยการเดินบนลู่วิ่งหรือการปั่นจักรยานเพียงอย่างเดียว
การบันทึกติดตามการทำงานคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG Holter Monitoring)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาทั้งแบบชุดการตรวจติดตามตลอด 24 ชั่วโมง และแบบควบคุมการบันทึกสัญญาณด้วยตนเองเมื่อมีอาการ ใช้ตรวจจับจังหวะการเต้นผิดปกติของหัวใจที่ซ่อนอยู่แม้เพียงเล็กน้อย เพื่อสืบค้นและวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่แอบแฝงอยู่และไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเบื้องต้น ทำให้สามารถป้องกันการเสียชีวิตแบบกระทันหันหรือภาวะทุพพลภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากภัยเงียบของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติด้วยเครื่องปรับระดับ (Tilt Table Test)
เทคนิคการตรวจด้วยเตียงปรับองศาการนอน พร้อมชุดตรวจจับการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ ใช้ตรวจจับการปรับตัวทางสรีรวิทยาของระบบไหลเวียนโลหิตที่ผิดปกติในขณะยืน ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหมดสติหรือเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ
การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle-Brachial Index)
การตรวจหาร่องรอยการตีบของหลอดเลือดส่วนปลาย รวมถึงการตรวจหาการแข็งตัวหรือความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเพื่อใช้ในการทำนายหรือพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต
การตรวจหลอดเลือดที่คอ (Carotid Doppler)
การตรวจหาร่องรอยการสะสมของคราบไขมันบนผนังหลอดเลือดและดูเรื่องการตีบตันในหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีทีมแพทย์หัวใจที่มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขาของโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถให้การรักษาโรคเฉพาะต่างๆทางหัวใจและหลอดเลือด ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด
เทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory)
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด ให้บริการด้านการรักษาในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างครบวงจร โดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ขั้นสูงด้วยเครื่องเอกซเรย์ตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดชนิดระนาบเดียว เครื่องแรกในอาเซียน ที่สามารถแสดงรายละเอียดของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างคมชัด สามารถลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจรักษาให้น้อยที่สุดและใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์สร้างภาพแผนที่หลอดเลือดนำทางของหลอดเลือดหัวใจ (Dynamic Coronary Roadmap) มีความสามารถในการสั่งงานต่างๆ การดูภาพหลอดเลือด รวมถึงการประมวลผล ด้วยตัวเครื่องที่มีความคล่องตัวสูงที่นอกจากการตรวจรักษาโรคในหลอดเลือดหัวใจได้แล้ว ยังสามารถรองรับการตรวจรักษาหลอดเลือดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดแขน ขา ได้เป็นอย่างดี ทำให้ทีมแพทย์ทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ป่วย
เทคโนโลยีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ให้บริการการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Electrophysiology study) ซึ่งประกอบไปด้วย
- Electrophysiology (EP) recording system คือ เครื่องบันทึกการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจเพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งสามารถกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจให้มีลักษณะความผิดปกติเกิดขึ้น โดยเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
- Radiofrequency ablation (RFA) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติโดยใช้คลื่นวิทยุ/ความร้อนทำลายจุดก่อกำเนิดที่ทำให้เกิดการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ
- Navigation system หรือ 3D electroanatomical mapping เป็นเครื่องจำลองลักษณะไฟฟ้าออกมาเป็นลักษณะกายวิภาคแบบภาพ 3 มิติ เพื่อใช้ในการระบุตำแหน่งความผิดปกติของการเต้นของหัวใจและการลัดวงจรที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการรักษาที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีการดูแลผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น
เชื่อมโยงระบบข้อมูลสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วยข้างเตียง (Bedside Monitor) พร้อมด้วยเครื่องตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดวิเคราะห์ผลแบบ 16 Lead ที่ทำให้แพทย์สามารถเข้ามาดูอาการคนไข้ด้วยระบบการทำงานของ Bedside Monitor ที่สามารถเก็บข้อมูลสัญญาณชีพของผู้ป่วยทั้งหมดโดยแพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลผู้ป่วยประเมินผลการรักษาผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือได้ และยังเป็นเครื่องมือการสื่อสารระหว่างแพทย์และพยาบาล
เทคโนโลยีฟื้นฟูหัวใจให้กลับมาแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสามารถทำให้อาการทางโรคหัวใจลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ มีโปรแกรมต่างๆ ของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โปรแกรมที่ช่วยลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อชะลอการดำเนินโรคและป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดซ้ำอีก ซึ่งได้รับการปรับให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
เครื่องนวดขากระตุ้นการทำงานของหัวใจ Enhanced External Counter Pulsation (EECP)
เครื่องกระตุ้นเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจด้วยระบบปั๊มที่ขาแบบอัจฉริยะ ซึ่งจะทำงานสอดประสานไปกับการเต้นหัวใจ ช่วยเพิ่มแรงดันโลหิตกลับไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง จัดเป็นเทคนิคการรักษาขั้นสูงที่ใช้ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เครื่องตรวจสมรรถภาพการออกกำลังกาย Cardiopulmonary Exercise Testing (CPET)
เครื่องตรวจวัดสมรรถภาพร่างกายแบบองค์รวม ด้วยชุดตรวจวัดการแลกเปลี่ยนก๊าซและสายพานลู่วิ่ง ใช้เทคนิคการวัดการใช้ออกซิเจนและการใช้พลังงานของร่างกายสะท้อนถึงประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจของผู้ป่วยอย่างละเอียด ใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกเทียมผ่านสายสวน (TAVR)
โรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรง (Severe aortic stenosis) เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของรา่งกายไม่เพียงพอ สาเหตุหลักเกิดจากการเกาะตัวของหินปูนแคลเซียมเมื่ออายมุากขึ้น (Calcium build-up) เกิดจากไข้รูห์มาติก (Rheumaticfever) และบางส่วนเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจแต่กำเนิด
อาการแสดงที่บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค
- เจ็บแน่นหน้าอก (Chest pain)
- หน้ามืดเป็นลม (Syncope)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว (HeartFailure)
แนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรง
• การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติก (Aortic valve replacement) ที่่เป็นการรักษาตามมาตรฐาน
• การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกผ่านสายสวน(Transcatheteraorticvalvereplacement:TAVR)
ซึ่งเป็นนวัตกรรมการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรงในผู้ป่วยที่อาการรุนแรง มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก มีโรคร่วมหลายโรค เคยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบเทียม เคยผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (CABG) และในผู้ป่วยอายุมากกว่า 75 ปี การรักษาด้วยวิธีนี้จะลดอัตราการเสียชีวิต ลดระยะเวลาการพักฟื้นในการนอนโรงพยาบาล และเพิ่มคุณภาพชีวิติให้กับผู้ป่วย
ปัจจุบัน การรักษาโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรงด้วยการทำหัตถการ TAVR เป็นการรักษาตามมาตรฐานในระดับสากล และเป็นเป้าหมายสำคัญของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในการเพิ่มศักยภาพด้านการรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ รุนแรง ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เท่าเทียมในระดับสากล เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการรักษา การส่งต่อ และเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับหัตถการ TAVR ทั้งในและต่างประเทศ
ซึ่งหัตถการการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนนี้ถือเป็นหัตถการการรักษาที่ค่อนข้างใหม่ในเมืองไทย และสามารถทำได้เฉพาะโรงพยาบาลบางแห่ง ซึ่งถือเป็นอีกหัตถการที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังสามารถลดภาวะแทรกซ้อนการรักษาลิ้นหัวใจเอ-อออร์ติกตีบอย่างรุนแรง ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด
Cardiology Center
Is a comprehensive cardiology clinic offering expert cardiovascular assessment and treatment in all situations 24 hours a day. In Thailand, cardiovascular disease is the second largest leading cause of death behind cancer. The center offers non-invasive diagnostic procedures, treatment programs developed using the latest laboratory technologies in cardiac catheterization, and single-cardiac catheterization x-ray which is on of the most modern and the first in the ASEAN region allowing cardiologists to provide accurate diagnosis and develop the most appropriate treatment programs.
บริการรักษาโรคหัวใจที่ครอบคลุม
- การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันด้วยวิธีการบอลลูน ใส่ขดลวด
- การรักษาหลอดเลือดตีบตันในส่วนอื่นของร่างกายนอกเหนือจากหลอดเลือดหัวใจ
- การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
- การใช้คลื่นวิทยุจี้สายไฟฟ้าในหัวใจเพื่อรักษาภาวะหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ
- การผ่าตัดทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
- การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือหัวใจล้มเหลว โดยไม่ใช้การผ่าตัดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Enhanced External Counter Pulsation (EECP) ซึ่งจะเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และช่วยให้สมรรถภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น มีผลให้อาการเจ็บหน้าอกและอาการเหนื่อยง่ายลดลง