ศูนย์การรักษา ศูนย์การรักษา
ออร์โธปิดิกส์ Orthopedic Center
บริการของแผนกออร์โธปิดิกส์
- คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อทั่วไป ( General Orthopedics Clinic )
- คลินิกรักษาข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม ( Hip and Knee Clinic )
- คลินิกโรคทางมือ ข้อศอก และจุลยศัลยกรรม ( Hand and Elbow Clinic )
- คลินิกโรคกระดูกสันหลัง ( Spine Clinic )
- คลินิกมะเร็งกระดูกและเนื้อเยื่อ ( Musculoskeletal Oncology Clinic )
- คลินิกอุบัติเหตุกระดูกหัก (Trauma Orthopedic)
- คลินิกเวชศาสตร์การกีฬา (Sports Medicine)
บริการตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัย
- การตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์เฉพาะทางแต่ละด้านของกระดูก
- การตรวจมวลกระดูก
- การตรวจเอกซเรย์กระดูก
- การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
บริการการรักษาที่ครบวงจร
- การกายภาพบำบัด
- การกินยา
- การฉีดยา
- การผ่าตัด
- การฉายรังสีรักษา
- การให้ยาเคมีบำบัด
- การวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลภายหลังได้รับการวินิจฉัยว่าพบมะเร็งกระดูกด้วยทีมวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง (Tumor Board)
- การผ่าตัดแบบแผลเล็กและเจ็บน้อย (minimally invasive surgery)
- การผ่านตัดด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery)
- การผ่าตัดเพื่อนำกระดูกที่เป็นมะเร็งออกแต่ไม่สูญเสียแขนและขา (Limb-Sparing Surgery)
Orthopedic Center
Provides specialized diagnostic and treatment of bone and joint disease, disorders or trauma by expert orthopedic surgeons utilizing the latest equipment and techniques, including endoscopic surgery which precludes large incisions and renders better prognosis and recovery.
- เนื้องอก หรือมะเร็งกระดูก
- อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น การบาดเจ็บข้อเข่าจากการเล่นกีฬา
- เอ็นเข่าฉีกขาด กระดูกอ่อนในเข่าฉีกขาด
- กระดูกหักประเภทต่างๆ
- กระดูกหักแบบซับซ้อนที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
- นิ้วล็อค, พังผืดกดทับเส้นประสาท
- ข้อเข่าหรือข้อสะโพกเสื่อม
- เส้นเอ็นนมือฉีกขาด
- ข้อมือและข้อศอก
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาน
- กระดูกสันหลังคด
- หมอนรองกระดูกและกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมสภาพ
- กระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกมีมวลลดลง ส่งผลให้กระดูกมีความเปราะ บางมากขึ้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายมากขึ้น โรคกระดูกพรุนพบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังหมดประจำเดือนนั่นเอง โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบเจอได้บ่อย มีปริมาณของผู้ป่วยมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการวินิจฉัย เนื่องจากไม่มีอาการของโรคที่ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับโรคอื่นๆ จะพบภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเยอะกว่ามาก
อาการของโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนไม่มีอาการบ่งบอกชัดเจน ดังนั้นคนที่เป็นอาจจะไม่ทราบได้เลยว่าตัวเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ ซึ่งกว่าจะแสดงอาการให้เห็น คือ มีภาวะกระดูกหักง่ายจากภาวะกระดูกพรุน ในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ลื่นล้ม ซึ่งบริเวณของกระดูกหักที่พบบ่อย จะเป็นกระดูกบริเวณสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง โดยกระดูกหักเหล่านี้มีความสำคัญ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถที่จะเดินได้อีก เป็นต้น
วิธีการป้องกันและรักษา
วัตถุประสงค์หลักของการรักษาโรคกระดูกพรุน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกหักซึ่งจะนำมาซึ่งความทุพลภาพหลายๆอย่างตามมา ทำให้ลดการพึ่งพาบุคคลอื่นๆในบั้นปลายของชีวิต
วิธีการป้องกัน
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เช่น การเดิน วิ่งเบาๆ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ เหมาะสมกับวัย
- ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เช่น แดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า
- มีวิธีการป้องกันการหกล้มให้กับผู้สูงอายุ เช่น อุปกรณ์ช่วยพยุงภายในบ้าน
ยาที่ใช้ในการรักษากระดูกพรุน
ยาที่ใช้รักษาเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกของผู้ป่วยบางมากขึ้น มีหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบของการรับประทาน หรือว่าในรูปยาฉีด ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน
แบบทดสอบประเมินตนเองว่าถึงเวลาที่จะเข้ารับการตรวจมวลกระดูกหรือยัง
เลือก / หน้าข้อที่ตรงกับตัวคุณเอง
- ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือ ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
-
มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ
- ประจำเดือนหมดเร็วก่อนอายุ 45 ปี
- รับประทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
- มีคุณพ่อหรือคุณแม่เคยกระดูกสะโพกหัก
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีค่าดัชนีมวลกาย < 19 กก./ตร.ม.*
- เอกซเรย์พบว่ากระดูกสันหลังบาง หรือกระดูกทรุดผิดรูป
- เคยมีกระดูกหักโดยอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น หกล้ม
- มีส่วนสูงที่ลดลงทุกๆปี
- เคยตรวจมวลกระดูกครั้งสุดท้ายเกิน 2 ปีขึ้นไป
*ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง(ม.)2
ถ้าตรงตามข้อใดข้อหนึ่งข้างบนยังไม่ต้องตกใจนะครับ คุณยังไม่ได้เป็นโรคกระดูกพรุน แต่มีข้อบ่งชี้ให้ต้องมาเข้ารับการตรวจมวลกระดูก เพื่อตรวจดูว่าคุณเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ โดยสามารถติดต่อสอบถามแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมได้
ค้นหาคำตอบที่ต้องรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนของตัวคุณเอง
- ฉันมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักง่ายจากโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ?
- ฉันรับประทานแคลเซียม หรือวิตามินดี เพียงพอหรือไม่ในแต่ละวัน ?
- การออกกำลังกายประเภทใด จะช่วยให้กระดูกของฉันแข็งแรงมากขึ้น ?
- ยาโรคประจำตัวที่ฉันกินทุกวันนี้ มียาตัวใดทำให้กระดูกบางลงหรือไม่ ?
- ฉันมีภาวะ หรือโรคประจำตัวที่จะทำให้กระดูกบางหรือไม่ ?
- ฉันมีความจำเป็นที่ต้องตรวจมวลกระดูกหรือไม่ ?
-
ถ้าฉันเคยตรวจมวลกระดูกแล้ว ผลอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ?
- ผลการตรวจแปลว่าอะไร ?
- ถ้าผลการตรวจผิดปกติ ฉันจำเป็นที่จะต้องได้รับยาหรือไม่ ?
- ฉันจะป้องกันการหกล้มในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ?
ถ้าคุณเป็นคนที่สงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะกระดูกพรุน หรือมีอยู่แล้ว ยังตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ คุณกำลังมีความเสี่ยงแล้วล่ะ! แนะนำให้คุณใส่ใจเรื่องใกล้ตัวนี้ให้มากขึ้น หรือสามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อทำการตรวจและให้คำแนะนำเพิ่มเติม ที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และป้องกันภาวะกระดูกหักของตัวคุณเองในอนาคต
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณเอว(Lumbar spinal stenosis)
หรืออีกชื่อที่คนทั่วไปมักเรียกว่ากระดูกหลังเสื่อมทับเส้นประสาทมักพบในผู้สูงอายุ>60ปีเกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูก(intervertebral disc)มีการฉีกขาดหรือความสูงลดลงและข้อต่อกระดูกหลัง(facet)เกิดข้อเสื่อมหรือมีกระดูกงอกขึ้น ทำให้กระดูกหลังขาดความมั่นคงจึงเป็นสาเหตุอาการปวดหลังและนำมาซึ่งโพรงกระดูกหลังตีบแคบกดทับเส้นประสาท
ผู้ปวดมักจะมาด้วยอาการเฉพาะ(neurogenic claudication)คือปวดร้าวลงขา , ความรู้สึกชา, และหากเป็นมากอาจพบอาการอ่อนแรง กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ โดยจะมีอาการมากขณะยืนเดินนานๆ และอาการทุเลาเมื่อนั่งพักเอนตัวไปข้างหน้าหรือนอนพัก
การวินิจฉัย จากการซักประวัติตรวจร่างกายและส่งตรวจรังสีวินิจฉัย โดยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีประโยชน์ความแม่นยำมากที่สุดซึ่งมีประโยชน์ในการวางแผนการรักษาและผ่าตัด
การรักษาเริ่มจากวิธีไม่ผ่าตัดได้แก่ การฝึกกายภาพเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง การดึงหลัง และยา และเมื่อผู้ป่วยไม่ดีขึ้นจึงเป็นการผ่าตัดได้แก่ การผ่าตัดเปิดระบายโพรงกระดูกสันหลัง การใส่โลหะดามกระดูกสันหลัง และการใส่วัสดุเทียมทดแทนหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยมีวิธีการผ่าตัดทั้งแบบเปิดแผลปกติ หรือเปิดแผลขนาดเล็ก
ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเป็นเวลานาน รวมทั้งมีอาการปวดร้าวลงขา อาการชา และอ่อนแรงขาจึงควรมาปรึกษาแพทย์กระดูกและข้อตั้งแต่แรก
โรคมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา OSTEOSARCOMA
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรค (PROGNOSIS FACTORS)
- เป็นมะเร็งปฐมภูมิ (Primary) ของกระดูก
- เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน (Mesenchymal Stem Cells) เจริญเติบโตเป็นมะเร็งของกระดูก ซึ่งเป็นมะเร็งปฐมภูมิของกระดูกที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก
- พบบ่อยในเด็กเป็นอันดับที่ 8 คิดเป็น 2.4% ของมะเร็งในเด็ก
- พบบ่อยที่สุดระหว่างอายุ 10-20 ปีและมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้เด็กหญิง
- ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณกระดูกต้นขาส่วนปลาย (Distal Femur) และกระดูกขาส่วนต้น (Proximal Tibia)
- สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัดแต่มีปัจจัยสำคัญ2 ประการที่เกี่ยวข้องได้แก่
- ปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic Factors) เช่น Li-Fraumeni syndrome, Rothmund-Thomson syndrome
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) เช่น การได้รับรังสี
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมาด้วยอาการปวด อาจจะมีอาการปวดอยู่นาน 3-6 เดือน และมักมีอาการปวดเวลากลางคืนร่วมด้วย ถ้ามะเร็งโตขึ้นจะมีอาการบวมและคลำได้ก้อน ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไข้ น้ำหนักลด กระดูกหัก
มะเร็งชนิดนี้มีการแพร่กระจายเฉพาะที่ ส่วนใหญ่เริ่มต้นในโพรงกระดูก (Medulla) แล้วเจริญเติบโตลุกลามทะลุออกไปทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบ ในระยะสุดท้ายจะแพร่กระจายไปที่ปอดและอวัยวะอื่นๆ ทำให้มีพยากรณ์โรคเลวลง
การประเมินผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา เริ่มตั้งแต่ประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจบริเวณที่น่าสงสัยด้วยเอกซเรย์ (X-rays) ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา ควรทำการตรวจเพิ่มเติม ต่อไปนี้
- ตรวจเอกซเรย์ (X-rays) เพื่อการวินิจฉัยเบื้องต้น
- ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด (CT scan) เพื่อตรวจการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังปอด
- ตรวจด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging - MRI) ช่วยการวินิจฉัยและประเมินก้อนเนื้องอกได้ชัดเจน เหมาะสำหรับตรวจหาขอบเขตของมะเร็ง รวมทั้งช่วยในการวางแผนผ่าตัด
- การถ่ายภาพสแกนกระดูก (Bone Scan) ประเมินมะเร็งนอกกระดูก และการแพร่กระจายไปกระดูกท่อนอื่น
- การวินิจฉัยมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาต้องทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (Biopsy) โดยอาศัยลักษณะเฉพาะทางพยาธิวิทยา (Histology)
การรักษา (Diagnosis)
1. การผ่าตัด (Sugery)
การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาหลักของมะเร็งกระดูก แบ่งออกเป็น 2 แนวทางด้วยกัน คือ การผ่าตัดกระดูกออกทั้งท่อน (Amputation) หรือตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออก (Wide Excision) การเลือกวิธีผ่าตัดต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำแหน่งของก้อน ขนาดของก้อน และการแพร่กระจายของมะเร็ง นอกจากนั้นยังคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ได้แก่ อายุ การเจริญเติบโตของกระดูก และการประกอบอาชีพในอนาคตด้วย
2. การฉายแสง (Radiotherapy)
มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาจัดเป็นพวกดื้อต่อการฉายแสง (Radioresistant) ดังนั้นจึงใช้รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งแล้วทำการผ่าตัดต่อไป หรือใช้รังสีรักษาช่วยการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ผ่าตัดออกได้ไม่หมด
3. เคมีบำบัด (Chemotherapy)
มีทั้งการให้เคมีบำบัดก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และทีมงาน โดยปัจจุบันนิยมให้ก่อนทำการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งและสามารถประเมินการตอบสนองต่อเคมีบำบัดได้ ซึ่งในช่วงระยะ 20 ปีมานี้เมื่อพบว่าการให้เคมีบำบัดได้ผลดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอย่างเดียว
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรค (PROGNOSIS FACTORS)
1. ความรุนแรงของโรคขณะได้รับการวินิจฉัย ถ้ามีการกระจายของมะเร็งตั้งแต่ต้นมีพยากรณ์ไม่ดี
2. ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง ถ้าอยู่กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง มีพยากรณ์โรคไม่ดี เพราะมักผ่าตัดเอาก้อนออกไม่ได้
3. ระยะเวลาที่เกิดอาการก่อนได้รับการวินิจฉัย มีความสัมพันธ์กับอัตราการเติบโตของก้อนมะเร็ง ถ้ามีอาการมานานมีพยากรณ์โรคดีกว่า
4. ลักษณะบางประการของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรค เช่น
- อายุ: ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 10 ปี มีพยากรณ์โรคเลวมาก ถ้าอายุเกิน 20 ปี มีพยากรณ์โรคดีกว่า
- เพศหญิงมีพยากรณ์โรคดีกว่าเพศชาย
- ระดับ alkaline phosphatase ในเลือดและก้อนเนื้องอก ถ้ามีระดับสูงผู้ป่วยมีโอกาสเกิดการแพร่กระจายของ
มะเร็งในภายหลัง
- ระดับ serum LDH มีความสัมพันธ์กับขอบเขตของโรค ถ้ามีระดับสูง
5. การตอบสนองต่อเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคมาก แต่จะทราบต่อเมื่อเริ่มการรักษาระยะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถจะพยากรณ์โรคก่อนให้การรักษา เหมือนปัจจัยอื่นๆ