ศูนย์การรักษา ศูนย์การรักษา
เต้านม Breast Cancer
บริการให้คำปรึกษาและรักษา
- มะเร็งเต้านม
- เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง
- พังผืดหรือถุงน้ำที่เต้านม
- ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างเต้านม
บริการตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัย
- การตรวจร่างกายทั่วไปโดยศัลยแพทย์เต้านม
- การตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลและอัลตร้าซาวด์เต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound Breast)
- การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อโดยใช้เข็มขนาดเล็กดูด (Core Needle Biopsy)
- การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อโดยใช้เครื่องมือช่วยหาตำแหน่ง (Stereolactic Biopsy)
บริการการรักษาที่ครบวงจร
- การวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลภายหลังได้รับการวินิจฉัยว่าพบมะเร็งเต้านมด้วยทีมวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง (Tumor Board)
- การผ่าตัด
- การฉายรังสีรักษา
- การให้ยาเคมีบำบัด
- การฟื้นฟูและบำบัด
- การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังผ่าตัดมะเร็ง
- มะเร็งเต้านม
- เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง
- พังผืดหรือถุงน้ำที่เต้านม
- ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างเต้านม
โรคมะเร็งเต้านม
อาการ
- คลำพบก้อนที่เต้านม
- มีการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง และผิวหนังเต้านม เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ มีสะเก็ด
- มีแผลแตกบนเนื้อเต้านม
- หัวนมบอดหรือมีการดึงรั้ง คัน หรือแดงผิดปกติ
- มีเลือด หรือน้ำออกจากหัวนม
- รักแร้บวม คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลือง
การดูแลและป้องกันมี 3 วิธี
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เดือนละ1 ครั้ง
- ตรวจโดยแพทย์
- ตรวจเอกซแรย์เต้านม (mammography) หรืออัลตราซาวด์เต้านม ในสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination-BSE)
- การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้พบความผิดปกติได้เร็วขึ้น
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนหลังประจำเดือนหมด 5-10 วัน ในสตรีอายุ 20 ปีขึ้นไป
วิธีการคลำเต้านม มี 3 วิธี สามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง
- การคลำแบบวนเป็นวงก้นหอย
- การคลำในแนวดิ่ง
- การคลำในแนวรูปลิ่ม
ขั้นตอนการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
- ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร
- ไม่ควรทาแป้ง โลชั่นหรือโรลออนบริเวณหน้าอกและรักแร้ เพราะจะมีผลต่อภาพแมมโมแกรม
- หลีกเลี่ยงช่วงใกล้หรือมีประจำเดือน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจแมมโมแกรม คือ 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลงทำให้เต้านมไม่คัดตึงเวลาตรวจแมมโมแกรมก็จะเจ็บน้อยกว่า
- ควรนำฟิล์มเก่ามาเปรียบเทียบด้วยเพื่อให้รังสีแพทย์สามารถเปรียบเทียบความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ได้
สมาคมโรคมะเร็งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) แนะนำให้
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
- ผู้หญิงอายุ 35-40 ปี ควรตรวจแมมโมแกรมเป็นพื้นฐานและควรตรวจ ทุก 2 ปี
- ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี
- ถ้ามีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม ท่านควรเริ่มตรวจคัดกรองแมมโมแกรมอย่างน้อย 5 ปีก่อนอายุที่ญาติสายตรงคนนั้นเริ่มพบมะเร็งเต้านม
การเจาะชิ้นเนื้อที่เต้านม (Breast Biopsy)
การเจาะชิ้นเนื้อที่เต้านม
คือ การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อเจาะผ่านผิวหนัง โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ หาตำแหน่งก้อนที่เต้านม และนำตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม
ข้อควรระวังก่อนการเจาะชิ้นเนื้อที่จะต้องแจ้งให้ทราบ
- กำลังให้นมบุตร
- กำลังมีประจำเดือน
- ทานยาละลายลิ่มเลือด วิตามิน E ยาสมุนไพร
เตรียมตัวก่อนเจาะชิ้นเนื้อที่เต้านม
- ควรงดยาละลายลิ่มเลือด วิตามิน E ยาสมุนไพร ก่อนเจาะชิ้นเนื้อ 5-7 วัน ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
- มาโรงพยาบาลก่อนนัด 30 นาที ตรวจสอบสิทธิชั้น 1 ยื่นบัตรนัดที่ชั้น 4 เปลี่ยนเสื้อนั่งรอหน้าห้องเบอร์ 5
- รับฟังคำอธิบายการเจาะชิ้นเนื้อและเซ็นชื่อยินยอมทำหัตถการ วัดสัญญาณชีพ
การปฏิบัติตัวระหว่างเจาะชิ้นเนื้อ
- ขึ้นนอนบนเตียง เจ้าหน้าจะจัดท่าให้
- พยาบาลจะเช็ดทำความสะอาดที่ผิวหนัง ปูผ้าปราศจากเชื้อบนหน้าอก ไม่นำแขนหรือมือมาวางบนผ้าสะอาดที่ปูไว้
- แพทย์จะฉีดยาชาก่อนเจาะชิ้นเนื้อและใช้อุปกรณ์เจาะชิ้นเนื้อเจาะผ่านผิวหนังไปที่ตัวก้อนประมาน 4-5 ครั้ง จะมีเสียงดังของอุปกรณ์
- ถ้าเจ็บหรือปวดให้แจ้งแพทย์จะฉีดยาชาเพิ่มให้
- เมื่อเจาะเสร็จแพทย์กดแผลห้ามเลือดและปิดแผล ประคบเย็นสังเกตอาการเลือดออก ประมาน 1 ชั่วโมง จึงให้กลับบ้าน
การปฏิบัติตัวหลังเจาะชิ้นเนื้อที่เต้านม
- ให้สังเกตแผล ถ้ามีเลือดไหลซึมให้ใช้มือกดบนผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือดและไปทำแผลที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
- ให้ประคบเย็นใน 2 วันแรก เพื่อห้ามเลือด ลดปวด หลังจากนั้นประคบอุ่นเพื่อลดอักเสบ ลดฟกซ้ำ
- ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ เมื่อครบ 3 วันให้ทำความสะอาดแผลวันละ 1 ครั้ง
- ห้ามใช้แขนข้างที่เจาะชิ้นเนื้อยกของหนัก > 5 kg เป็นเวลา 7 วัน
- สามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอลได้ ยกเว้น แอสไพริน
- ถ้ามีไข้ แผลบวมแดง ร้อน มีหนองให้รีบมาโรงพยาบาล
คำถามที่พบบ่อย
Q: การเจาะชิ้นเนื้อสามารถตัดเอาก้อนเต้านมออกไปได้หรือไม่
A: การเจาะชิ้นเนื้อเป็นการสุ่มตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยแต่ไม่ได้เป็นการตัดชิ้นเนื้อออกไปทั้งก้อน
Q: ใช้เวลาเจาะชิ้นเนื้อนานเท่าไร
A: ประมาน 20-30 นาที ขึ้นกับความยากง่าย
Q: จะมีแผลเป็นหรือไม่
A: มีแผลเป็นเป็นจุดเพียงเล็กน้อย
Q: ระหว่างเจาะจะรู้สึกปวดหรือไม่
A: จะรู้สึกเจ็บตอนฉีดยาชา และรู้สึกตึงบริเวณที่เจาะ จะเจ็บ ปวดมากขณะที่อุปกรณ์กำลังตัดชิ้นเนื้อ
Q: จะมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง
A: เต้านมจะบวม กดเจ็บ ฟกซ้ำ มีเลือดออกหยุดยาก แต่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
Contact
Phone :
0 2576 6141
0 2576 6143
06 4586 2412
Line :
Service Hours
จันทร์ - ศุกร์
เวลา 08.00 - 16.00 น.
อังคาร พุธ พฤหัสบดี
เวลา 16.00 - 20.00 น.
เสาร์
เวลา 08.00 - 14.00 น.
Location
เต้านม
ชั้น 2 ลิฟต์ล็อบบี้ บี
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง
906 ถนนกำแพงเพชร6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
Contact
Phone:
02 000 0000Fax:
02 000 0000E-mail:
[email protected]Service Hours
วันจันทร์-วันศุกร์:
08.00-20.00 น.
วันเสาร์:
08.00-19.00 น.
วันอาทิตย์:
08.00-20.00 น.
Location
ศูนย์สุขภาพสตรี
อาคารโรงพยาบาล..ชั้น 3 ด้านใต้ ขึ้นบันไดเลื่อนจากห้องโถงรับรองไปยังชั้น 3 เลี้ยวขวา เดินตรงไปคลินิกที่ 2 ด้านขวา
โรงพยาบาล... 33 สุขุมวิท ซอย 3 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110 ประเทศไทย