ศูนย์การรักษา ศูนย์การรักษา

โลหิตวิทยาและเซลล์บำบัด Hematology Clinic

โลหิตวิทยาและเซลล์บำบัด (Hematology and Cell Therapy Unit) โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้บริการรักษาพยาบาลแบบองค์รวมในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งโลหิตวิทยาและโรคทางโลหิตวิทยาที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และ/หรือรับเลือดและส่วนประกอบของเลือดแบบผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยมีบริการ

✅ Hematology Day Unit : ให้สารน้ำ ยาเคมีบำบัด เลือดและส่วนประกอบของเลือด
✅ Hematology and Cell Therapy Ward : ตั้งอยู่ที่ชั้น 9 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ เป็นห้องพักผู้ป่วยแรงดันบวก มีการออกแบบและจัดวางระบบด้วยมาตรฐานความปลอดภัย
 

หอผู้ป่วยโลหิตวิทยาและเซลล์บำบัด (Hematology and Cell Therapy Unit) 

ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มมะเร็งโลหิตวิทยาและโรคทางโลหิตวิทยาที่มารับบริการทั้งแบบผู้ป่วยใน(Hematology and Cell Therapy Ward)และผู้ป่วยนอก(Hematology Day Unit) โดยหอผู้ป่วยได้ออกแบบพิเศษและมีการจัดวางระบบป้องกันการติดเชื้อภายในหอผู้ป่วย เพื่อรองรับผู้ป่วยทางโลหิตวิทยากลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำติดเชื้อง่าย เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ให้การดูแลรักษาพยาบาลครอบคลุมมิติสุขภาพแบบองค์รวม โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง บุคลากรมีพฤติกรรมบริการที่ดี และมีความพึงพอใจในบริการ ทั้งยังเกิดการสร้างงานวิจัย ในหน่วยงาน สามารถเผยแพร่งานวิจัยได้ในระดับสากล

 

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งตามลักษณะชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)

เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่พบได้น้อยกว่า แต่มีพยากรณ์โรคดี เซลล์มะเร็งมักจะมีปริมาณน้อยแต่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า Reed Stenberg cell

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด นอน-ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)

พบได้ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อย ตามชนิดและลักษณะการทำงานของลิมโฟไซท์ ได้แก่ ชนิดบีเซลล์ และชนิดที่เซลล์ซึ่งไม่สามารถแยกจากกันได้โดยดูจากลักษณะการจัดเรียงตัวของเม็ดเลือดขาวภายในต่อมน้ำเหลืองเพียงอย่างเดียวแต่ต้องอาศัย แต่ต้องอาศัยการย้อมติดสีทางพยาธิวิทยา (Immunohistochemistry) ร่วมด้วย

 

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งตามอาการและอัตราการดำเนินโรค ได้แก่

 

Aggressive Disease มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโตเร็ว

กดเบียดอวัยวะข้างเคียง รวมถึงอาจมีไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร และเหงื่อออกมากกลางคืนหรือมีของเสียจากการแตกตัวของเซลล์ผิดปกติจำนวนมากที่ขับออกไม่ทันส่งผลให้มีภาวะไตวายตามมาหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที่ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6 เดือน ถึง 2 ปี

 

Indolent Disease มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโตช้า

ผู้ป่วยมักจะมีอาการไม่มาก อาจต้องอาศัยเวลานานหลายปีกว่าจะคลำพบ หรือ มีอาการจากก้อนกดเบียดอวัยวะอื่นๆ แต่ด้วยเหตุนี้ การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะไม่ดีเท่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่เซลล์ที่แบ่งตัวเร็วส่งผลให้โรคมีโอกาสกลับมาเป็นช้ำในภายหลังได้มากกว่า ดังนั้น จุดมุ่งหมายในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ รักษาอาการที่เกิดจากตัวโรคโดยผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการักษาน้อยที่สุด

 

 

  1. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)
  2. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด นอน-ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)
  3. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโตเร็ว
  4. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโตช้า

 
 

Contact

Phone:

0 2576 6229
0 2576 6230

 

Service Hours

จันทร์ – ศุกร์
เวลา 08.00 - 16.00 น.

เสาร์ – อาทิตย์
เวลา 08.00 – 12.00 น. 

 

Location

โลหิตวิทยาและเซลล์บำบัด

ชั้น 9 ตึกศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

906 ถนนกำแพงเพชร 6 ตลาดบางเขน หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

 

Contact

Service Hours

วันจันทร์-วันศุกร์:

08.00-20.00 น.

วันเสาร์:

08.00-19.00 น.

วันอาทิตย์:

08.00-20.00 น.

Location

ศูนย์สุขภาพสตรี

อาคารโรงพยาบาล..ชั้น 3 ด้านใต้ ขึ้นบันไดเลื่อนจากห้องโถงรับรองไปยังชั้น 3 เลี้ยวขวา เดินตรงไปคลินิกที่ 2 ด้านขวา

โรงพยาบาล... 33 สุขุมวิท ซอย 3 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110 ประเทศไทย