ศูนย์การรักษา ศูนย์การรักษา

ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ National Cyclotron and PET Centre

 

Digital PET/CT

Cycrotron

เป็นศูนย์ที่ก่อตั้งจากพระปณิธานและพระวิสัยทัศน์ในศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อให้การดูแลสุขภาพของประชาชนชาวไทย พระองค์ท่านได้ตัดสินพระทัยอย่างแน่วแน่ในการจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติขึ้น โดยทรงวางแนวทางการดำเนินงานและทรงสนับสนุนทุกทางทั้งการติดต่อกับต่างประเทศ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ทรงติดตามการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง เพื่อให้ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางการให้บริการการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท โรคหัวใจ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีราคาแพงให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุดและเป็นสถานวิจัยและถ่ายทอดความรู้ด้านการวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีทันสมัยแก่บุคลากรระดับต่างๆในประเทศไทย

ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีการให้บริการ 3 ส่วนด้วยกัน

ส่วนแรก เป็นการให้บริการตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยด้วยเครื่องเพทซึ่งมีทั้งเทคโนโลยี “ดิจิทัลเพทซีที” Digital PET/CT Biograph Vision และ “เพทเอ็มอาร์ไอ” PET/MRI Biograph mMR 3 Tesla ให้แพทย์สามารถเลือกส่งตรวจในเครื่องที่มีความเหมาะสมกับรอยโรคและชนิดมะเร็งของผู้ป่วยได้ในอัตราค่าบริการใกล้เคียงกัน โดยเพทซีที อัตราเริ่มต้นที่ 20,000 บาท และเพทเอ็มอาร์ไอเริ่มต้นที่ 25,000 บาท แต่สำหรับบางชนิดของมะเร็งทางศูนย์ฯ ก็ให้บริการตรวจควบคู่กันให้ทั้ง 2 เครื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการรักษาให้กับผู้ป่วย อาทิ มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจวินิจฉัยทั้งเครื่องPET/MRI และ PET/CT พร้อมกันในอัตราค่าบริการ 23,000 บาท หรือตรวจเพทเอ็มอาร์ไอในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ราคา 18,000 บาท เป็นต้น โดยที่ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติให้บริการตรวจผู้ป่วยทั้งที่เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ


ส่วนที่สอง คือภารกิจในด้านเทคโนโลยีการผลิตและให้บริการ “สารเภสัชรังสี” Radiophamaceuticals ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากเครื่องไซโคลตรอน โดยผลิตและบริการให้กับสถานพยาบาลที่มีเครื่องเพทซีที โดยเรามีทีมนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ร่วมกันคิดค้นพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในการผลิตสารเภสัชรังสีตัวใหม่ๆ ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนการผลิตเพื่อขายสารเภสัชรังสีให้กับโรงพยาบาลต่างๆ จำนวนกว่า 1,500 โดส ณ ปัจจุบันมีสารเภสัชรังสีที่ทางศูนย์สามารถผลิตเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้มากถึง 20 ชนิด


ส่วนที่สาม งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ชั้น B1 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคโดยการใช้สารเภสัชรังสีเพื่อประโยชน์ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท หรืออื่นๆ ภายในร่างกายโดยมี เทคโนโลยี “สเปคซีที” SPECT/CT เครื่องสร้างภาพการตรวจวินิจฉัยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อการวินิจฉัยโรคโดยฉีดสารเภสัชรังสีเข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกาย และสแกนตรวจวินิจฉัยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ด้วยเครื่อง Single Photon Emission Computed Tomography / Computed Tomography (SPECT/CT) การตรวจต่อมไทรอยด์ Thyroid Uptake and Scan และให้การรักษาผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษและมะเร็งไทรอยด์ด้วยสารเภสัชรังสีไอโอดีน (I-131) หรือการกลืนแร่ การรักษาผู้ป่วยด้วยสารเภสัชรังสี อาทิ การรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีการแพร่กระจายด้วยสารเภสัชรังสี 177Lu-PSMA-617 และ 225Ac-PSMA-617 การรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง Neuroendocrine Tumor (NETs) ด้วยสารเภสัชรังสี 177Lu-DOTATATE รวมทั้งให้บริการตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometer (BMD)



ดิจิทัลเพทซีที Digital PET/CT Biograph Vision 600 Edge

เป็นเครื่องดิจิทัลเพทซีทีประสิทธิภาพสูงที่เปิดให้บริการเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงเรียกว่า ALPHA เพื่อช่วยยกระดับการเก็บข้อมูล การสร้างภาพ และการวินิจฉัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แม่นยำ และว่องไว โดยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) ที่ถูกนำมาใช้ในเครื่องวิชั่นรุ่น Edge ได้แก่ Flow motion AI ซึ่งสามารถทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโดยสัมพันธ์กับพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายโดยเฉพาะ (Personalized Protocol) โดย AI สามารถระบุตำแหน่ง และขอบเขตของอวัยวะได้อย่างแม่นยำ ทำให้การเก็บข้อมูลในบริเวณรอยโรคของผู้ป่วยมีความคมชัดสูง ลดระยะเวลาในการตั้งค่าการเก็บข้อมูล และคงมาตรฐานคุณภาพการตรวจ เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ป่วย และมีความแม่นยำถูกต้องในการวินิจฉัย Oncofreeze AI เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลให้สัมพันธ์กับจังหวะการหายใจของผู้ป่วย โดยไม่เพิ่มเวลาในการเก็บข้อมูล และไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม (Deviceless Technology) โดยอาศัยการทำงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ในการระบุตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ ในทรวงอก และเรียนรู้รูปแบบการหายใจซึ่งจำเพาะต่อคนไข้แต่ละราย และทำการแก้ไขตำแหน่งที่คลาดเคลื่อนให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ภาพรอยโรคบริเวณทรวงอกที่คมชัด

Digital PET/CT

ดิจิทัลเพทซีที Digital PET/CT Biograph Vision

เครื่องเพท-ซีทีสามารถตรวจหามะเร็งได้อย่างไร ก่อนที่จะทำการตรวจด้วยเครื่องเพท-ซีที ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารเภสัชรังสี ซึ่งติดฉลากกับสารกัมมันตรังสีที่สลายตัวที่ให้รังสีโพสิตรอนเข้าทางหลอดเลือดดำและเครื่องเพท-ซีที จะเป็นตัวนับวัดรังสีแกมมาที่ออกมาจากร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับกาฉีดสารเภสัชรังสี สารเภสัชรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมอยู่ในเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ที่มีอัตราการเกิดเมตาบอลิสมสูงที่มากกว่าบริเวณอื่นๆ จะตรวจพบรังสีแกมมาในบริเวณนั้นมากกว่าบริเวณอื่นๆ ทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งได้อย่างง่ายดาย

Digital PET/CT

เพทเอ็มอาร์ไอ PET/MRI Biograph mMR 3 Tesla

เทคโนโลยีเครื่องเพทเอ็มอาร์ไอ PET/MRI Biograph mMR 3 Tesla ด้วยคุณสมบัติของเครื่องที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงที่จะช่วยแพทย์ในการสร้างภาพการทำงานในระดับเซลล์ (Molecular Imaging) และสามารถสร้างภาพเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ที่ให้รายละเอียดสูงด้วยเครื่อง MRI 3 Tesla เพื่อการตรวจรอยโรคขนาดเล็กที่มีความซับซ้อนได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับการวินิจฉัยกับชนิดมะเร็งจำพวก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งตับ มะเร็งสมอง มะเร็งนรีเวช มะเร็งศีรษะและลำคอ เป็นต้น

คุณสมบัติที่โดดเด่นของเครื่องเพทเอ็มอาร์ไอ

  • สามารถสร้างภาพเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม อวัยวะต่างๆได้คมชัดและให้รายละเอียดภาพที่สูง เหนือกว่าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งเหมาะสมสำหรับการวินิจฉัยรอยโรคที่มีขนาดเล็ก และอวัยวะที่มีความซับซ้อน มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อใกล้เคียงกัน รวมถึงการสร้างภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การทำงานของสมองเมื่อเกิดการกระตุ้น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลของน้ำในเนื้อเยื่อ สร้างภาพเส้นใยประสาท การไหลเวียนของเลือดในสมอง
  • สร้างภาพการทำงานในระดับเซลล์ (Metabolic/Molecular imaging) และแสดงภาพผสานระหว่าง PET imaging และ Anatomical/Functional imaging เพื่อช่วยเพิ่มข้อมูลในการวินิจฉัยให้มีความถูกต้องและแม่นยำสูงสุด
  • ให้ปริมาณรังสีต่ำกว่าการตรวจด้วย PET/CT ทั่วไป เนื่องด้วยการสร้างภาพด้วย MRI ไม่มีการปล่อยรังสี แต่ใช้การกำทอนของสนามแม่เหล็กแรงสูงและการกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุ (RF: Radiofrequency) เพื่อสร้างภาพอวัยวะความละเอียดสูง ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยลง เหมาะสำหรับการตรวจในผู้ป่วยซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการรับรังสี เช่น ผู้ป่วยเด็ก
  • เครื่องเอ็มอาร์ไอ 3 เทสลาจะมีสนามแม่เหล็กแบบพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้นได้ครอบคลุมบริเวณร่างกาย ทำให้ภาพที่ได้ครอบคลุมรอยโรคทั้งหมดในบริเวณที่ต้องการวินิจฉัย และมีเทคนิคพิเศษที่ช่วยให้สนามแม่เหล็กแรงสูงมีความสม่ำเสมอสูง ส่งผลให้สามารถปรับใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลการเมตาบอลิซึมที่ผิดปกติของสารประกอบในเนื้อเยื่อมะเร็ง (MRS : Magnetic Resonance Spectroscopy ) ได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง และเพิ่มข้อมูลในการวินิจฉัยโรคให้กับแพทย์
  • สำหรับผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสี เครื่องนี้สามารถปรับใช้เทคนิคพิเศษในการสร้างหลอดเลือดโดยไม่จำเป็นต้องมีการฉีดสารทึบรังสี (MRA: Magnetic resonance angiography) ก็สามารถสร้างภาพความผิดปกติของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสีได้อย่างปลอดภัย
  • บริเวณที่ทำการสร้างภาพ เครื่อง PET/MRI สามารถเก็บข้อมูลการสะสมของสารเภสัชรังสีได้พร้อมกันในบริเวณเดียวกัน ทำให้ภาพระหว่างกายวิภาค (Anatomical Imaging) และ การทำงานของเซลล์ (Molecular Imaging) ที่ได้มีความสมบูรณ์ถูกต้องแม่นยำสูง ลดปริมาณสารรังสี และใช้เวลาการตรวจน้อยลง
  • เครื่อง PET/MRI ยังถูกออกแบบมาให้สามารถเก็บภาพ ได้ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้าโดยการจัดท่าเพียงครั้งเดียว ทำให้สามารถเก็บภาพได้ครอบคลุมทั้งตัวโดยใช้เวลาน้อยลง พร้อมด้วยโปรแกรม Quiet Suit ที่ช่วยทำให้ไม่มีเสียงรบกวนระหว่างผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ และยังคงคุณภาพของภาพไว้ได้อย่างครบถ้วน
  • มีเทคนิคการถ่ายภาพอวัยะที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ช่วงหน้าอก และช่องท้องจากการหายใจ โดยการแก้ไขค่าการเคลื่อนไหวของภาพทรวงอกจากการหายใจของคนไข้ ทำให้ภาพบริเวณปอดคมชัดขึ้น
  • มีระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยในการระบุตำแหน่งปรับการวางระนาบเพื่อเก็บข้อมูลภาพให้มีความเที่ยงตรง แม่นยำ ถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับคนไข้เฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น
  • สามารถแก้ค่าการลดทอนเชิงรังสีได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรมประยุกต์ที่สมบูรณ์ที่สุดในขณะนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างแผนที่การลดทอนเชิงรังสีจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย Bone class, Tissue class, Air class, Fat class, Lung adaptive class ผนวกรวมกับ HUGE ซึ่งวิเคราะห์และประมวลผลการแก้ค่าการลดทอนเชิงรังสี และรังสีกระเจิงในบริเวณขอบภาพ ทำให้การวิเคราะห์ค่าเชิงปริมาณของภาพ PET มีความถูกต้องแม่นยำ และน่าเชื่อถือ เหมาะสมสำหรับการวินิจฉัย

Digital PET/CT

สารเภสัชรังสี Radiophamaceuticals

เครื่องไซโคลตรอน (Cyclotron) เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ผลิตธาตุกัมมันตรังสีซึ่งสลายตัวให้รังสีโพสิตรอน ได้แก่ ธาตุคาร์บอน (11C), ไนโตรเจน (13N), ออกซิเจน (15O), ฟลูออรีน (18F), ซึ่งธาตุดังกล่าวนี้เป็นธาตุที่มีอยู่ในสารประกอบต่างๆ ของเซลล์ในร่างกายตามธรรมชาติ ธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าวแต่ละตัวจะนำไปเตรียมเป็นสารเภสัชรังสี โดยวิธีการติดฉลากกับสารประกอบที่มีความจำเพาะต่อการตรวจระดับการทำงานของเซลล์ เช่น อนุพันธ์กลูโคส (Fluoro-deoxy-glucose or FDG) เป็นต้น สารเภสัชรังสีที่เตรียมขึ้นนี้ มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด เพื่อใช้นำไปฉีดให้กับผู้ป่วยและวัดความเข้มข้นของรังสีในรอยโรคที่สงสัยในอวัยวะต่างๆ ด้วยเครื่องเพทสแกน ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์กลางการผลิตสารเภสัชรังสีจากเครื่องไซโคลตรอน ที่สามารถจำหน่ายสารเภสัชรังสีให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีเครื่องเพท-ซีที อีกทั้งให้บริการตรวจเพท-ซีที สแกนแก่ผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาและผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน และมีการศึกษาวิจัยคิดค้นการผลิตสารเภสัชรังสีต่างๆอย่างต่อเนื่อง

ด้วยพันธกิจของศูนย์ฯ ที่มุ่งมั่นพัฒนางานด้านการศึกษาวิจัยคิดค้นการผลิตสารเภสัชรังสีต่างๆอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตสารเภสัชรังสี โดย ณ ปัจจุบัน ศูนย์ไซโคลตรอนฯ สามารถผลิตสารเภสัชรังสีเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ได้ทั้งหมด 20 ชนิด ประกอบด้วย

  • 18F-FDG สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคทางระบบประสาท และโรคหัวใจ
  • 18F-FDOPA สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง Neuroendocrine Tumor (NETs) และโรคพาร์กินสัน
  • 11C-ChoLine สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 11C-Erlotinib สำหรับตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของเนื้องอกในผู้ป่วยมะเร็งปอด
  • 11C-Erlotinib สำหรับตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของเนื้องอกในผู้ป่วยมะเร็งปอด
  • 11C-PiB สำหรับการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • 18F-THK 5351 สำหรับการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • 18F-FLT สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทแยกการกลับเป็นซ้ำของเนื้องอกในสมองออกจากการตายของ เนื้อเยื่อจากการรักษาด้วยรังสี
  • 68Ga-PSMA-11 สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • 68Ga-DOTATATE สำหรับตรวจวินิจฉัยมะเร็งระบบประสาท (Neuroendocrine Tumor)
  • 18F-PSMA-1007 สำหรับตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • 177Lu-DOTATATE สารเภสัชรังสีเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง Neuroendocrine Tumor (NETs)
  • 177Lu-PSMA-617 สารเภสัชรังสีเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • 18F-NeuraCeq สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • 18F-PI2620 สำหรับการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมกลุ่ม Tauopathies
  • 18F-Fluoride สำหรับการตรวจวินิจฉัยรอยโรคที่กระดูก
  • 15O-H2O (Radiowater) สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและโรคทางสมอง
  • 18F-FMISO สำหรับการตรวจวินิจฉัย Tumor Hypoxia
  • 225Ac-PSMA-617 สารเภสัชรังสีเพื่อนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก กรณีไม่ตอบสนองสารเภสัชรังสี 177Lu-PSMA-617
  • 18F-FES สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม
  • 68Ga-FAPI สำหรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาจุดต้นกำเนิดของการเกิดเซลล์มะเร็ง (มะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งตับ)
  • Solid Isotape (Cu-64, Zr-89)
  • 15O- O2
  • 15O- CO
  • 15O- CO2
  • 15O-H2O in PET/MRI

พื้นที่สำหรับการสังเคราะห์สารเภสัชรังสี

เป็นห้องสะอาด (Clean room) ที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด GMP PIC/S สำหรับการผลิตสารเภสัชรังสี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น Class A, B, C และ D โดยในแต่ละพื้นที่จะมีการควบคุมอุณหภูมิความดันและระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้อง นอกจากนี้ ยังมีการแยกพื้นที่สำหรับการสังเคราะห์สารเภสัชรังสีออกเป็นพื้นที่สำหรับผลิตสารเภสัชรังสีไอโซโทปค่าครึ่งชีวิตสั้น (Short-lived hot lab) และพื้นที่สำหรับผลิตสารเภสัชรังสีไอโซโทปค่าครึ่งชีวิตยาว (Long-lived hot lab) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามระหว่างไอโซโทปที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้นและไอโซโทปที่มีค่าครึ่งชีวิตยาว (Cross contamination) โดยในพื้นที่การผลิตแต่ละห้องจะมีการติดตั้งตู้ปฏิบัติการรังสีสูง (Hot cells) ซึ่งเป็นตู้ตะกั่วเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีปริมาณสูงที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์สารเภสัชรังสีโดยตู้ปฏิบัติการรังสีสูง (Hot cells) จะต้องมีการควบคุมระดับความสะอาด ความดัน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตยาที่ดี และเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน

ส่วนพื้นที่สำหรับผลิตสารเภสัชรังสีด้วยไอโซโทปรังสีค่าครึ่งชีวิตสั้น (Short-lived hot lab)

ติดตั้งตู้ปฏิบัติการรังสีสูง (Hot cells) สำหรับการสังเคราะห์สารเภสัชรังสี 5 ตู้ เพื่อบรรจุเครื่องสังเคราะห์สารเภสัชรังสี (Synthesizer modules) 4 เครื่อง คือ Neptis Perform, Neptis NX3 , Synthera และ Synthra สำหรับผลิตสารเภสัชรังสี เช่น 18F-FDG, 18F-FDOPA, 18F-FES, 18F-PSMA1007 เป็นต้น โดยสามารถผลิตสารเภสัชรังสีต่างชนิดได้ภายในวันเดียวกัน เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีความหลากหลาย และสามารถรองรับการพัฒนาการสังเคราะห์สารเภสัชรังสีชนิดใหม่ได้ในอนาคต และติดตั้งตู้ Isolator จำนวน 2 ตู้เพื่อบรรจุเครื่องแบ่งจ่ายยาอัตโนมัติ (Auto Dispensing Unit) สำหรับรองรับสารเภสัชรังสีที่สังเคราะห์เสร็จสิ้น และทำการแบ่งจ่ายสารเภสัชรังสีลงในบรรจุภัณฑ์สำหรับควบคุมคุณภาพและส่งออกจำหน่ายให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ รวมถึงการให้บริการผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเพทสแกน ณ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ด้วย

ส่วนพื้นที่สำหรับผลิตสารเภสัชรังสีด้วยไอโซโทปค่าครึ่งชีวิตยาว(Long-lived hot lab)

ติดตั้งตู้ปฏิบัติการรังสีสูง (Hot cells) จำนวน 2 ตู้สำหรับการทำให้ไอโซโทปรังสีที่มีชีวิตยาวให้บริสุทธิ์ (Purification System) ตู้ปฏิบัติการรังสีสูง (Hot cells) สำหรับการติดตั้งเครื่องสังเคราะห์ (Synthesizer modules) จำนวน 1 ตู้และตู้ Isolator สำหรับติดตั้งเครื่องแบ่งจ่ายยาอัตโนมัติ (Auto Dispensing Unit) สำหรับแบ่งจ่ายสารเภสัชรังสีด้วยจำนวน 1 ตู้

พื้นที่สำหรับควบคุมคุณภาพสารเภสัชรังสี

ออกแบบให้สามารถติดตั้งเครื่องมือสำหรับในการวิเคราะห์คุณภาพของสารเภสัชรังสี เช่น เครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High Performance Liquid Chromatography;HPLC) เครื่องทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี (Thin layer Chromatography;TLC) สำหรับการวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสี, เครื่องแก๊สโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography;GC) สำหรับหาปริมาณสารเคมีที่ยังคงเหลืออยู่ในตัวผลิตภัณฑ์และ Endosafe สำหรับหาปริมาณเชื้อที่ก่อให้เกิดไข้ (Endotoxin Test) เป็นต้น ซึ่งสารเภสัชรังสีที่สังเคราะห์ได้นั้น จำเป็นต้องผ่านตามเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานตำรับยาก่อนที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย

การรับรองมาตรฐานคุณภาพการสร้างภาพวินิจฉัยด้วยเครื่อง PET โดยสถาบัน EARL (Research For Life)

ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการสร้างภาพวินิจฉัยด้วยเครื่อง PET โดยสถาบัน EARL (Research For Life) สำหรับการตรวจวินิจฉัยด้วย PET/CT Accreditation 2022 ศูนย์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และ PET/MRI Accreditation 2022 ศูนย์แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสูงสุดนี้ ทั้งนี้ การทำ EARL Accreditation เป็นการรับรองคุณภาพของเครื่องมือ PET/CT และ PET/MRI รวมถึงกระบวนการตรวจและกระบวนการสร้างภาพ ตามมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัย การทำวิจัย อ้างอิงตามหลักปฏิบัติและหลักเกณฑ์ของสมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Association of Nuclear Medicine: EANM) โดย EARL เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้สมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่งยุโรป นอกจากนี้ ยังเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนและรับรองโดยองค์กร European Organization for Research and Treatment of Cancer (EORTC) Imaging Group ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนความร่วมมือในการกำหนดมาตรฐาน และยกระดับในการทำวิจัย และสร้างภาพทางการแพทย์เพื่อการรักษาและวินิจฉัยโรคมะเร็งในระดับนานาชาติ และมีความร่วมมือกับองค์กร Quantitative Imaging Biomarkers Alliance® (QIBA) ซึ่งเป็นองค์กรในเครือข่ายของ RSNA (Radiological Society of North America) เพื่อทำการกำหนดมาตรฐานการใช้งานเครื่อง PET ทางคลินิกและทางด้านวิจัยที่มีมาตรฐานร่วมกัน ระหว่างอเมริกาและยุโรป

ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์เพทแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองด้วยมาตรฐานสูงสุดของการตรวจด้วยสารเภสัชรังสี 18F (18F-Standard 2) และสารเภสัชรังสี 68Ga (68Ga-Standard 2)ในเครื่องมือครบถ้วนทุกระบบ ได้แก่ PET/CT Vision 600 , PET/CT Vision 600 Edge และ PET/MRI Biograph mMR โดยเครื่องมือทั้งหมดสามารถผ่านการรับรองได้ภายในครั้งแรกที่เข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะในไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2565 (26 กรกฎาคม – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565) ทั้งนี้การทำ Accreditation มีประโยชน์แก่ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติในดังต่อไปนี้

  • การสร้างภาพ PET สามารถวัดค่าเชิงปริมาณ (Standardized Uptake Value : SUV) ได้ถูกต้องแม่นยำในการวิเคราะห์ผล การแปลผล การสร้างภาพทางการแพทย์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูง ตามหลักปฏิบัติขององค์กร EANM ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติ
  • การสร้างภาพ PET มีคุณภาพที่คงที่ และสม่ำเสมอ ทั้งในเชิงของคุณภาพและในเชิงของการวัดค่าเชิงปริมาณ (Uniformity and Consistency of Qualitative and Quantitative) ลดความแปรปรวนของค่านับวัดเชิงปริมาณ ทำให้คุณภาพของภาพ และค่านับวัดเชิงปริมาณที่ได้จากผู้ป่วยมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งภายในการตรวจครั้งเดียวกัน และ การตรวจติดตามในผู้ป่วยรายเดิม และมีศักยภาพและมาตรฐานเพียงพอที่จะสามารถนำค่าไปแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่อง PET ระหว่างสถาบัน (Harmonization of the Reconstruction and Interpretation of PET/CT Scans)
  • เป็นมาตรฐานที่เป็นข้อบ่งชี้ในการเป็นศูนย์วิจัยในระดับนานาชาติ
  • ได้รับการยอมรับเข้าร่วมเป็นหนึ่งในภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence Network) และมีเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และร่วมกันทำงานวิจัยกับภาคีอื่น ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
  • เครื่องมือสร้างภาพทางการแพทย์ทั้ง PET/CT และ PET/MRI จะมีความเที่ยงตรงและถูกต้องอยู่เสมอ เนื่องจากต้องมีการควบคุมและการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการสร้างภาพและทดสอบคุณภาพอยู่ทุกไตรมาส เพื่อให้มีความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

Digital PET/CT

งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยการใช้สารเภสัชรังสีเพื่อประโยชน์ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท หรืออื่นๆ ภายในร่างกาย โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้รับผู้ป่วยในโครงการวิจัย ผู้ป่วยส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ และสิทธิ์การรักษาต่างๆ ทั้งการเบิกตรงตามสิทธิ์กรมบัญชีกลาง และชำระเงินเองเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่หน่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์สามารถทำให้เห็นถึงการทำงานของอวัยวะในร่างกายได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้แพทย์สามารถตรวจพบรอยโรคหรือสิ่งผิดปกติในร่างกายที่เกิดขึ้นได้

บริการตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัย

  1. การตรวจวินิจฉัยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ด้วยเครื่อง Single Photon Emission Computed Tomography / Computed Tomography (SPECT/CT) ได้แก่
    • การตรวจระบบทางเดินหายใจ (Lung Scan)
    • การตรวจกระดูก (Bone Scan)
    • การตรวจไขกระดูก (Bone Marrow Scan)
    • การตรวจการอักเสบและการติดเชื้อ (Inflammation and Infection Scan)
    • การตรวจเนื้องอก (Tumor Scan)
    • การตรวจต่อมน้ำเหลืองที่มีการแพร่กระจายของมะเร็ง Lymphoscintigraphy for Sentinel Node
    • การตรวจตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary System)
    • การตรวจระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal System)
    • การตรวจตับและม้าม (Liver and Spleen Scan)
    • การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ(Renal Scan ได้แก่ Diuretic Renal Scan, Renovascular Hypertension)
    • โรคกรวยไตอักเสบ (Acute Pyelonephritis และแผลเป็นที่ไต (renal scar: DMSA SCAN)
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Renal transplantation)
    • การตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Radionuclide Cystography)
    • การตรวจอัณฑะ (Thesticular Imaging on Scrotal Imaging)
    • การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan)
    • การตรวจต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Scan)
    • การตรวจหลอดเลือดดำ (Venous Scan)
    • การตรวจทางเดินน้ำเหลือง (Lymphatic Scan)
    • การตรวจระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)
  2. การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Uptake and Scan) ใช้ในการศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ตลอดจนดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่ามีการทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
  3. การตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่อง Bone Densitometer (BMD)
  4. การรักษาด้วย 177Lu-PSMA 617 ในผู้&

    National Cyclotron and PET Centre 

     
    It is graciously founded on the aspirations and vision of Professor. Dr. HRH Princess Chulabhorn, with the set course of actions and supports towards international collaboration networks, such as The International Atomic Energy Agency (IAEA) as a center for diagnosis of cancer, neurological, and heart diseases through modern, advanced technology and the most cost-effectiveness of researches and knowledge transfer for the most quality of life and better health care among Thai people as a whole. 
     

    There are 2 services available at National Cyclotron and PET Centre: 

     
    • Patients’ service with PET/CT scan at Chulabhorn Hospital or those transfer from other hospitals for diagnostics at National Cyclotron and PET Centre 
    • Radiopharmaceutical products for service to various hospitals with PET/CT.
     

    Cyclotron

     
    It is the accelerator for the radioactive particles in the positron, including carbon (11C), nitrogen (13N), oxygen (15O), and fluorine (18F), which are elements in the natural compounds of body’s cells. Each of these radioactive substances is prepared as a radiopharmaceutical by labeling with compounds specific for cellular activity, such as Fluoro-deoxy-glucose or FDG, and required a strict quality control to inject in patients and measure radiation intensity of suspected lesions within the organs by PET/CT.
     
    National Cyclotron and PET Centre, Chulabhorn Hospital is the center for radiopharmaceuticals production from the cyclotron. These radiopharmaceuticals are ordered and purchased by various hospitals with PET/CT. Also, PET/CT service is provided to patients with all types of health coverage and those transferred from other hospitals nationwide. The center commits and strives for continuous research and development in the production of radiopharmaceuticals.
     

    At present, National Cyclotron and PET Centre can produce 12 radiopharmaceuticals as follows:

    18F-FDG for diagnosis of cancer, neurological, and heart diseases
    18F-FDOPA for diagnosis of neuroendocrine tumors (NETs) and Parkinson's disease
    11C-PiB for diagnosis of dementia such as Alzheimer's disease
    18F-THK 5351 for diagnosis of dementia (Tauopathies) such as Alzheimer's disease
    11C-Erlotinib for detection of tumor mutations in patients with lung cancer
    11C-Choline for diagnosis of prostate cancer and renal cancer
    18F-FLT for diagnosis of neurological disease and differentiation of recurrence brain tumor from tissue death
      following radiation therapy
    68Ga-PSMA-11 for diagnosis of prostate cancer
    68Ga-DOTATATE    for diagnosis of neuroendocrine tumor
    18F-PSMA-1007   for diagnosis of prostate cancer
    177Lu-DOTATATE    for treatment of metastatic neuroendocrine tumor
    177Lu-PSMA-617    for treatment of metastatic prostate cancer
    18F-NeuraCeq    for diagnosis of dementia such as Alzheimer disease

     

    PET/CT

    PET/CT is a nuclear medicine instrument of PET (Positron Emission Tomography) and CT (Computed Tomography), highly effective in detecting cancer, neurological and heart diseases. Current Cancer Detection There are many ways to detect the stage of cancer for the most appropriate treatment, including laboratory test, CT scan, magnetic resonance imaging (MRI), tissue biopsy and PET/CT.

    Current Cancer Detection

             There are many ways to detect the stage of cancer for the most appropriate treatment, including laboratory test, CT scan, magnetic resonance imaging (MRI),  tissue biopsy and PET/CT. 

    How can PET-CT detect cancer?

              Before receiving PET/CT, patients are intravenously injected with radiopharmaceuticals of labeled radioactive in positron. PET/CT then measures the gamma rays of those uptake accumulated radiopharmaceuticals that come out from patients’ body cells. The cells with higher metabolic rate can be easily detected with higher gamma rays than other areas for cancer diagnosis.

    Can medical costs be reimbursed?

    The reimbursement of medical costs for government officers only covers the PET/CT under the clinical indications of the Comptroller General’s Department, including colorectal cancer and lung cancer. These two diseases are also indicative in further details with other diseases based on the affiliated offices. So, those eligible for the reimbursement of medical costs need to check with the affiliated hospitals regarding the coverage of PET/CT as indicative.

    Role of PET/CT on cancer

    • Diagnosis 
    • Staging and Restaging
    • Recurrence 
    • Evaluation of Treatment
    • Prognosis
    • Distant Metastasis

    Advantages of PET/CT in cancer

    • Providing diagnostic and pathological details that cannot be determined by other testing, such as computer tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI).
    • Yielding an accuracy of early stage cancer diagnosis.
    • Staging of cancer correctly towards the most appropriate treatment plan for patients with lower costs and less complications from unnecessary treatments.
    • Predicting the metastasis of cancer from a single whole-body examination.
    • Detecting the remaining of cancer cells and recurrence after treatment.
    • Giving accurate diagnosis in each staging of diseases towards the most appropriate treatments in each patient.
    • Assessing response of diseases after various treatment modalities.
    • Considering as safe for examination.

    Appointment in advance at National Cyclotron and PET Centre, Chulabhorn Hospital every day at 8.00-16.00 

     

     

บทบาทของการตรวจเพท-ซีทีกับโรคมะเร็ง

  • วินิจฉัยโรคมะเร็ง (Diagnosis)
  • การประเมินระยะของโรคมะเร็ง (Staging and Restaging)
  • การประเมินระยะของโรคมะเร็งในรายที่มีการกลับมาเป็นซ้ำ (Recurrence)
  • การประเมินการตอบสนองของมะเร็งต่อการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ (Evaluation of treatment)
  • การพยากรณ์โรค (Prognosis)
  • การกระจายของโรค (Distant Metastasis)

ข้อดีการตรวจเพท-ซีทีในโรคมะเร็ง

  • ให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคที่ไม่สามารถบอกได้จากการตรวจอื่นๆ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือเครื่องกำทอนแม่เหล็ก (MRI)
  • สามารถวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกได้ถูกต้องแม่นยำ
  • บอกระยะของโรคมะเร็งได้ถูกต้องซึ่งทำให้สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้อง ลดค่าใช้จ่ายและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่ไม่จำเป็น
  • สามารถดูการกระจายของมะเร็งได้ทั้งตัวจากการตรวจครั้งเดียว
  • สามารถตรวจหามะเร็งที่เหลืออยู่และการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษา
  • ให้การวินิจฉัยระยะของโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทำให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยแต่ละราย
  • ประเมินการตอบสนองของโรคหลังการรักษามะเร็งด้วยวิธีการต่างๆ
  • เป็นการตรวจที่ปลอดภัย

เครื่องเพท-ซีทีสามารถตรวจอะไรได้อีกนอกจากมะเร็ง

โรคระบบประสาท
  • ประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยโรคลมชัก (Epilepsy)
  • ตรวจหาโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Parkinson’s disease) นอกจากนี้ยังช่วยวินิจฉัยแยกโรค Parkinson ออกจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน
  • วินิจฉัยความรุนแรงของเนื้องอกสมอง และวินิจฉัยการกลับมาเป็นซ้ำ
  • วินิจฉัยโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) ตั้งแต่ในระยะแรกและวินิจฉัยแยกโรคของสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค Dementia
โรคหัวใจ
  • วิเคราะห์ระบบไหวเวียนเลือดในหัวใจ
  • ประเมินความมีชีวิตของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
  • ประเมินและพยากรณ์โรคก่อนผ่าตัด
  • ประเมินขอบเขตของโรคในรายที่จะทำการรักษา เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือการปลูกถ่ายหัวใจระบบประสาท

งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์

การรักษาด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ให้บริการรักษาโรคด้วยสารเภสัชรังสี ได้แก่

1. ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Radioiodine Therapy for Thyrotoxicosis)
2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Radioiodine Therapy for Thyroid comers)
3. การรักษาบรรเทาความเจ็บปวดจากมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก (Palliative Therapy for Metastatic Bone Cancer Pain)
4. การรักษามะเร็งตับระยะกลาง และมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่กระจายมาที่ตับด้วยสารกัมมันตรังสี Yittrium90
5. การรักษาด้วย 177Lu-PSMA 617 ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีการแพร่กระจาย
6. การรักษาด้วย 177Lu- Dotatate ในผู้ป่วย Neuroendocrine tumor
 

 

What else can PET/CT perform other than cancer?

Neurological diseases: 

  • Preoperative evaluation in patients with epilepsy.
  • Diagnosis of Parkinson's disease and differentiation of Parkinson's disease from other diseases with similar symptoms.
  • Identifying the severity of brain tumors and recurrence. 
  • Diagnosis of Alzheimer's disease at early stage with differentiated causes of Dementia.

Heart diseases :

  • Analysis of circulatory system inside the heart.
  • Assessment of myocardial cells’ viability.
  • Evaluation and prediction of preoperative diseases.
  • Identifying the scope of diseases for treatment, such as coronary artery bypass or neurological heart transplant.
 

Contact

Phone:

0 2574 3355

นัดหมาย:

09 6091 8369

Line:

เพิ่มเพื่อน

E-mail:

[email protected]/

 

Service Hours

จันทร์ – อาทิตย์
เวลา 08.00 - 20.00 น.

 

Location

ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ

ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ ถ.กำแพงเพชร 6 หลักสี่
เลขที่ 906 ถนนกำแพงเพชร6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

 

 

 

Contact

Service Hours

Monday - Friday:

08.00 - 16.00 น.

Saturday - Sunday:

08.00 - 20.00 น.

Location

National Cyclotron and PET Centre

National Cyclotron and PET Centre Building, Chulabhorn Hospital
906 Kamphangpetch 6 Road, Talad Bangkhen, Laksi, Bangkok 10210